เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักเกิณเกณฑ์ ภาวะเหล่านี้พบบ่อยกับคนสูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่าหากมี 4 ภาวะนี้เสี่ยงเป็น “ไขมันพอกตับ”
.
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้หมด จึงเกิดการสะสมในตับเป็นจำนวนมาก โดยไขมันส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งไตรกลีเซอไรด์คือไขมันชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายได้รับจาก ทานอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และไขมันโดยตรง ซึ่งหากมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปก็จะเกิดการสะสม เป็นเนื้อเยื่อไขมันจนทำให้เกิดเป็น “ไขมันพอกตับ”
.
4 ภาวะเหล่านี้ทำไมเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
- เบาหวาน เพราะว่ามีน้ำตาลในร่างกายสูง ซึ่งสามารถเกิดได้จากการไม่ควบคุมพฤติกรรมการกินและพันธุกรรม เมื่อเซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จนหมด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับจึงต้องนำน้ำตาลไปสร้างเป็นไขมัน ส่งผลให้ตับต้องทำงานหนักขึ้นเรื่อยๆ จนตับทำงานผิดปกติ และเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
- ไขมันในเลือดสูง เพราะว่าร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน และภาวะไขมันพอกตับ
- ความดันโลหิตสูง เพราะว่าระดับความดันเลือดที่สูงกว่าระดับปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติจะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงจะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และถือว่าเป็นภาวะที่ต้องได้รับการควบคุมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเมื่อเป็นนานเข้าจะส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเลื่อมลง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดในสมอง ภาวะไตเสื่อม และภาวะไขมันพอกตับ
- ภาวะน้ำหนักเกิณเกณฑ์ เพราะว่ามีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารมากเกินไป และการไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเมื่อมีไขมันเกินปริมาณจนนำไปใช้ไม่หมด ส่งผลให้เกิดการสะสมและเสี่ยงเป็นภาวะไขมันพอกตับได้ง่าย
.
โดยภาวะไขมันพอกตับจะมีการดำเนินภาวะแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะมักไม่แสดงอาการ และเมื่อมีไขมันพอกตับสะสมอยู่เป็นปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ตับมีการบวมและ 10-20% ของผู้มีไขมันพอกตับจะเกิดอาการตับอักเสบได้ ไขมันพอกตับมีอาการดังนี้
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ท้องอืด แน่นท้อง รู้สึกไม่สบายท้อง
- เจ็บชายโครงขวา
.
หากเป็นภาวะ 4 กลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว และมีภาวะท้องอิด อ่อนเพลีย เจ็บชายโครงขวา คล้ายภาวะไขมันพอกตับที่กล่าวมาข้างต้น
อย่ามองข้ามเพราะอาจเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ และหากไม่รีบรักษา จะทำให้เกิดภาวะเซลล์ตับตาย มีพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นตับแข็ง และร้ายแรงที่สุดอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้
.
สุขภาพตับเป็นเรื่องสำคัญจึงควรหมั่นใส่ใจตับด้วย ลิฟพลัส ที่มีสมุนไพรมากถึง 12 ชนิด หรือจะสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand คลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต : https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/fatty-liver/
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/846-2019-04-20-01-49-18
medicinenet.com, Overweigh : https://hd.co.th/definition-of-overweight-and-obesity
โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ : https://phuketinternationalhospital.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87-hypertension/
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณ์ : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/844/Dyslipidemia