ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้หมด จึงเกิดการสะสมในตับเป็นจำนวนมาก
โดยไขมันส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งไตรกลีเซอไรด์คือไขมันชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายได้รับจาก
ทานอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และไขมันโดยตรง ซึ่งหากมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปก็จะเกิดการสะสม
เป็นเนื้อเยื่อไขมันจนทำให้เกิดเป็น ภาวะไขมันพอกตับ
ซึ่งภาวะไขมันพอกตับ สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารจำพวก อาหารมัน อาหารทอด อาหารหวาน หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ซึ่งอาหารเหล่านี้จะกลายเป็นไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมอยูในตับจนกลายเป็นไขมันพอตับนั่นเอง
และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ง่ายขึ้น คือ ภาวะอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกิน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
รวมถึงภาวะต่างๆ ของตับเอง เช่น ไวรัสตับอักเสบ การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ เป็นต้น
ทั้งนี้หากต้องการรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นภาวะไขมันพอกตับหรือไม่ สามารถเช็คได้จาก
- ผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว
- ผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว
- มีน้ำตาลในเลือดซึ่งสูงมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- มีไขมันไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- มีไขมันชนิดดีหรือ HDL cholesterol ต่ำ (โดยปกติแล้วค่า HDL cholesterol ยิ่งสูงยิ่งดี ในผู้ชายควรมีค่า HDL cholesterol มากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และในผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
- มีความดันโลหิตสูง นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังเป็นตัวกระตุ้นให้มีไขมันพอกตับมากขึ้นอีกด้วย
โดยภาวะไขมันพอกตับนั้นแบ่งระยะความรุนแรงได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ ซึ่งยังไม่รุนแรงมาก
- ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ
เกิน 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง - ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
- ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จึงทำให้ตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
ซึ่งหากกลายเป็นตับแข็งแล้วจะไม่สามารถรักษาได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการ และดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายเท่านั้น
โดยภาวะไขมันพอกตับจะมีการดำเนินภาวะความรุนแรงแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำร้ายร่างกายเราโดยไม่รู้ตัว
ส่วนมากภาวะไขมันพอกตับจะไม่ค่อยแสดงอาการ และมักพบว่ามีความผิดปกติเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี ยกเว้นในบางรายอาจแสดงอาการเช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บชายโครงขาว เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ หรือมีภาวะท้องอืด แน่นท้อง เจ็บชายโครงขวา จึงไม่ควรละเลยการรักษา และการดูแลตนเอง
สุขภาพตับเป็นเรื่องสำคัญจึงควรหมั่นดูแลด้วย ลิฟพลัสผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงดูแลตับ
ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล หากคุณพี่แน่นท้อง ท้องอืด อ่อนเพลีย ทานข้าวได้น้อย เจ็บชายโครงขวา
ปรึกษาฟรี! โทรเลย 098-264-2464
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
Bumrungrad International Hospital
(https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2015/fatty-liver-silent-killer)
โรงพยาบาลรามคำแหง – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางครบทุกสาขา (https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/186)