You are currently viewing “ไขมันพอกตับ” ไร้ยารักษา เป็นแล้วควรทำอย่างไร?

“ไขมันพอกตับ” ไร้ยารักษา เป็นแล้วควรทำอย่างไร?

ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ ไขมันพอกตับสามารถเป็นได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากมักพบในกลุ่มอายุช่วง 40-50 ปีขึ้นไป เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง

.

สาเหตุของไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 2 สาเหตุ คือ

1. จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม

2. จากสาเหตุปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น

    * การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน ของทอด

    * ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์

    * ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

    * ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มฮอร์โมน เป็นต้น

.

ซึ่งระยะเริ่มแรกของ “ไขมันพอกตับ” นั้น ไม่ค่อยมีภาวะแสดงที่เด่นชัดมากนัก มักเป็นภาวะแสดงเล็กๆ น้อยๆ เช่น

✅  ท้องอืด แน่นท้อง

✅  เจ็บชายโครงขวา

✅  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

.

จะสังเกตได้ว่า ภาวะที่กล่าวมา เป็นภาวะที่ไม่สามารถเจาะจงได้ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร และเป็นภาวะที่คนส่วนใหญ่มักชะล่าใจ ซึ่งเมื่อไขมันเกิดการสะสมมากขึ้น จาก “ไขมันพอกตับ” จะพัฒนาเป็น “ตับแข็ง” และร้ายแรงถึงขั้น “มะเร็งตับ” ได้

.

โดย “ไขมันพอกตับ” เมื่อเป็นแล้ว ทางการแพทย์ยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้นสิ่งที่แพทย์แนะนำคือ ให้หันมาใส่ใจสุขภาพตับให้มากขึ้น และปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน และการออกกำลังกาย เป็นต้น

.

6 ข้อแนะนำในการฟื้นฟูสุขภาพตับ เมื่อมีภาวะ “ไขมันพอกตับ”

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน ของหวาน หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพราะเมื่อร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด ก็จะเกิดการสะสมไขมันส่วนเกินในตับ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมการทานอาหาร จึงเป็นสิ่งที่ผู้มีภาวะไขมันพอกตับควรทำ

2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มากจนเกินไป นอกจากส่งผลดีต่อตับแล้ว ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกด้วย

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน สัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที ส่วนผู้สูงอายุเป็นการยืนแกว่งแขนอยู่กับที่ 30 นาทีต่อวัน 

4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อตับ โดยการเข้าไปกระตุ้นให้มีไขมันสะสมในตับ และเกิดตับอักเสบ

5. เช็คสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากมีภาวะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ

6. เลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับ เช่น 

อาร์ติโช๊ค : ที่เป็นสุดยอดสารสกัดที่ดีต่อตับ กระตุ้นการทำงานของตับ และสร้างน้ำดีในการช่วยย่อยไขมัน, แดนดิไลออน : ชะล้างสารพิษ ฟื้นฟูตับให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ และควบคุมระดับน้ำตาล ความดัน และไขมัน, ขมิ้น : ต้านอนุมูลอิสระ ขับสารพิษที่สะสมในตับ ป้องกันตับอักเสบ เป็นต้น

.

ดังนั้น หากใครที่เริ่มมีภาวะท้องอืด, แน่นท้อง, เจ็บชายโครงขวา, อ่อนเพลีย หรือภาวะไขมันพอกตับ ควรรีบหันมาใส่ใจตับก่อนสายเกินแก้

.

“ลิฟพลัส” ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ติโช๊ค, แดนดิไลออน, ขมิ้น, โสมเกาหลี เป็นต้น ซึ่งสารสกัดเหล่านี้ จะเข้าไปซ่อมแซมตับ และเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับทั้งระบบ ให้ตับกลับมาแข็งแรง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

มหาวิทยาลัยมหิดล : https://bit.ly/3MPVAHu

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://bit.ly/3b5LkxF

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ : https://bit.ly/3zHnvXg

โรงพยาบาลกรุงเทพ : https://bit.ly/3zMTIwa

โรงพยาบาลรามาธิบดี : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/13595/

โรงพยาบาลกรุงเทพ : https://www.bangkokhospital.com/content/fatty-liver

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ : https://www.bumrungrad.com/th/conditions/fatty-liver-disease

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือโทรสั่งซื้อสินค้า

ใส่ความเห็น