You are currently viewing ยังไม่ป่วย! แต่ทานยาพาราฯดักไว้ก่อน เสี่ยงเกิดตับอักเสบ

ยังไม่ป่วย! แต่ทานยาพาราฯดักไว้ก่อน เสี่ยงเกิดตับอักเสบ

ยาพาราเซตตามอล ยาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมี ใช้บรรเทาอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ซึ่งสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่เป็นอันตราย แต่ในขณะเดียวกันหากใช้ ยาพาราเซตตามอลไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภัยร้ายใกล้ตัว ที่คุณอาจไม่เคยรู้ นั่นคือ “ตับอักเสบ” ได้นั่นเอง

โดยปกติตับมีหน้าที่สลายฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล ซึ่งขั้นตอนของการสลายยาพาราเซตามอลนี่เองที่ทำให้เกิดสารพิษ ที่ทำอันตรายต่อตับประมาณร้อยละ 5 ของตัวยา และสารชนิดนี้เป็นอนุมูลอิสระ ที่ร้ายแรงจนส่งผลให้เกิดตับอักเสบได้ หากใช้ยาพาราเซตามอลผิดวิธีจะยิ่งส่งผลต่อตับเป็นเท่าตัว และหากผู้ป่วยที่ตับไม่แข็งแรง หรือตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่มากพอ ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นตับอักเสบได้ง่ายขึ้น

ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองยาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่อันตรายจึงทำให้เกิดการใช้กันอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น

  • ใช้ยาพาราฯพร่ำเพรื่อ ไม่มีอาการก็ทานดักไว้ก่อน ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เกิดประสิทธิภาพในการรักษา แและอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากตัวยาได้
  • ทานยาพาราฯติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นไข้ ปวดหัว ไม่ยอมไปหาหมอ ทานไปเลื่อยๆ จนกว่าจะหาย ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ควรใช้ยาพาราฯติดต่อกันเกินกำหนด หากแก้ปวดใช้ติดต่อกันได้ไม่เกิน 5 วัน หากลดไข้ควรใช้ติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 วันเท่านั้น และบางคนอาจมีการทานยาพาราฯร่วมกับแอลกอฮอล์ ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการตับอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • ใช้ยาพาราฯเกินขนาด คนทั่วไปมักมีความเชื่อผิดๆ เป็นน้อยทาน 1 เม็ด เป็นมากทาน 2 เม็ด หรือ 3 เม็ดไปเลยก็ได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ปิดอย่างร้ายแรง

การทานยาพาราเซตามอล ห้ามทานเกินเกิน 4,000 มก ต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ และต้องดูที่น้ำหนักตัวของผู้ป่วยว่าสัมพันธ์กับขนาดยา 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หรือไม่ ถ้าหากนำน้ำหนักตัวผู้ป่วยมาคำนวณแล้วเกินกว่า 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) แปลว่าใช้ยาเกินขนาด จะทำให้มีความเสี่ยงต่อตับอักเสบเช่นเดียวกัน

การใช้ยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง

  • การกินยาพาราฯ 1 ครั้ง ควรกินยา 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
  • กินยาพาราฯครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ไม่ควรกินยาพาราฯเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน
  • ยาพาราเซตามอลสามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • เป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ไม่จำเป็นต้องกินยา
  • กรณีลืมกินยา สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

อาการของการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด

อาการแสดงของการใช้ยาเกินขนาดจะแสดงใน 1-3 วัน มีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก เป็นระยะสั้น ๆ โดยจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมง บางรายอาจไม่มีอาการ
  • ระยะที่ 2 หลังกินยาระหว่าง 24-48 ชั่วโมง ไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส (transaminase) เริ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ
  • ระยะที่ 3 หลังกินยาพาราเซตามอลไปแล้ว 48 ชั่วโมง มีอาการตับอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารอีกครั้ง มีภาวะแทรกซ้อนเหมือนตับอักเสบทั่วไป หากรุนแรงอาจมีอาการสมองเสื่อมจากโรคตับ และเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที

ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล

  •  หากมีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
  • ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

การเก็บรักษายาพาราเซตามอล

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • เก็บให้พ้นแสงแดดและความร้อน อย่าให้อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
  • เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าเก็บยาในที่ชื้น เพราะจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ

หากผู้ป่วยที่ตับไม่แข็งแรง ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระไม่มากพอจึงยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นตับอักเสบได้ง่ายขึ้น ดังนั้นควรทานยาให้ถูกวิธี และไม่ทานพร่ำเพรื่อ

.

ลิฟพลัส ดูแลตับอย่างตรงจุด ด้วยสมุนไพรที่ช่วยให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากสถาบันวิจัยของประเทศฟินแลนด์ สอบถามมาได้ที่ 098-264-2464

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รายการ Rama Square ช่วง Daily Expert “พาราเซตามอล” ใช้ถูกวิธีปลอดภัย วันที่ 6 ธันวาคม 2559 ภญ.นันทพร เล็กพิทยา หัวหน้างานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือโทรสั่งซื้อสินค้า

ใส่ความเห็น